สวัสดีครับ ทุกๆคนที่พึ่งรู้คะแนนสอบไป ขออย่าได้ท้อแท้กับการรู้คะแนนนะครับ วันนี้มี นศ เขียนมาถามวิธีการตอบข้อสอบ ดังนั้นอาจารย์ขออธิบายอย่านี้นะครับ
๑ การจำเลขมาตราได้แม่นนั้นอาจเป็นดาบสองคม หมายความว่า ถ้าจำได้จริงๆก็จะดีมาก แต่ถ้าไม่ใช่ หรือ จำผิดจะถูกหักคะแนนมาก(โดยเฉพาะสอบในระดับสูงขึ้นไปอีก เช่น เนติ ผู้ช่วย พพษ)เนื่องจากนักกฎหมายต้องมีความแม่นยำ การที่เราไม่แม่นยำนั่นหมายถึง อาจทำให้คนๆหนึ่งตายได้ หรืออาจเสียเสรีภาพไปเลย ดังนั้นถ้าไม่แม่นยำ อย่าไปเขียนลงไป
๒ การเรียน กม ไม่ได้ทดสอบความจำ (เลขมาตรา)แต่ทดสอบความสามารถในทางให้เหตุทาง กม ดังนั้น แม้ว่าจะจำเลขมาตราไม่ได้ แต่วางหลัก กม ไว้ชัดเจนก็แสดงถึงความรู้ความเข้าใจ
๓ การเขียนว่า "หลักกฎหมายที่...วางหลักว่า"อาจทำให้งงและสับสนได้ เราอาจดำเนินการดังนี้
ก)ถ้าจับประเด็นได้ว่าเรื่องดังกล่าวคือเรื่องอะไร โจทก์ถามอะไร เช่น ประเด็นเป็นเรื่องกลฉ้อฉล เราอาจใช้คำว่า "ในประเด็นเรื่องกลฉ้อฉลนี้วางหลัก กม ไว้มีสาระสำคัญดังนี้.....๑.....๒...๓"
ข)การที่เราเขียนหลักรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวได้ ไม่ใช่การสมมุติเอาเองแน่นอนครับ เพราะเมื่อผู้ตรวจได้อ่านก็จะรู้ได้ว่าคุณเข้าใจและไปถูกทาง แต่ที่จะทำให้ไปไกลกว่าเดิมก็คือว่า ทำอย่างไรให้ผู้ตรวจเห็นว่าคุณเข้าใจในหลัก กม ดังกล่าวจริงๆ นั่นหมายความว่าจะต้องแจกแจงหลัก กม เข้ากับข้อเท็จจริงอย่างละเอียดครับ
พูดง่ายๆก็คือ ต้อง "รู้รอบทิศ คิดรอบด้าน"ในข้อเท็จจริงนั้นๆ สิ่งนี้ละครับที่ทำให้นัก กม เราเหนือกว่าคนอื่น ไม่ใช่ความจำครับ
สำหรับทุกคนที่คะแนนไม่ดีและรู้สึกท้อแท้กับการเรียน กม
ผมขอนำคำพูดของนักกฎหมายผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งมากล่าว ไม่ใช่ใครครับ ประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ของอเมริกา รัฐบุรุษผู้เปลี่ยนโลกชื่อ อับราฮัม ลินคอร์นนั่นเอง ท่านกล่าวว่า
“ ข้าพเจ้าอาจเดินช้า แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเดินถอยหลัง”
5 comments:
อาจารย์ครับ ขอถามต่อเลยล่ะกันครับ เพราะคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อชาวคณะ คือว่า "หากการอ่านโจทย์ข้อสอบมีปัญหาดังนี้ 1.)เก็บรายละเอียดของโจทย์ไม่ครบ ซึ่งอาจเกิดจากลืมข้อเท็จจริงที่ได้อ่านไปแล้ว 2.)คิดช้า" ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง
คำถามที่แบ้งถามอาจารย์ ว่า1.)เก็บรายละเอียดของโจทย์ไม่ครบ ซึ่งอาจเกิดจากลืมข้อเท็จจริงที่ได้อ่านไปแล้ว 2.)คิดช้า" ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง
อ เห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเฉพาะตัวครับ ตอบยากเลยทีเดียวเพราะมันแล้วแต่ตัวบุคคลจริงๆ เช่น ลืมข้อเท็จจริงที่ได้อ่านไปแล้ว หรือ คิดช้า อาจแก้ปัญหาด้วยการจดไว้ที่ข้อสอบแยกเป็นแต่ละประเด็นหลักๆและในแต่ละประเด็นหลักควรจะตอบประเด็นย่อยๆอะไรบ้าง การจะจับประเด็นได้เร็วหรือช้า คิดช้าหรือเร็วนั้นเป็นเรื่องของทักษะจริงๆครับ ต่อไปถ้าเราอ่านข้อสอบบ่อยๆก็จะถนัดมากขึ้น การที่จะช่วยให้จับประเด็นได้เร็วที่สุดคือหัดทำข้อสอบเก่า(ประเภทถามตอบ)แต่การจะคิดละเอียดรอบคอบต้องจับกลุ่มติวกับเพื่อนๆครับ เพราะแต่ละคนเมื่อมานั่งคุยกันจะเห็นมุมมองทาง กม ที่สนใจต่างกัน ดังนั้น จะสามารถเห็นประเด็นที่ละเอียดและลึกขึ้นนั่นเอง
แต่ถ้าสุดท้ายยังลืมข้อเท็จจริงและคิดช้าอีก ผมว่าต้องไปกินแป๊ะก้วยแช่เย็นตรงข้ามห้างเสรีละครับ ความจำอาจจะกลับมา : )
5555555
คงต้องไปกินแปะก๊วแช่เย็นแระ
5555555
ขอบคุณมากครับอาจารย์ ..............
อ.ภูมินทร์ได้ค่าโฆษณามาเท่าไรอ่ะครับ
ว่าแต่ว่าไม่ได้ไปทานมานานแล้วเช่นกันครับ
ความจำเริ่มจะไม่ค่อยดีแล้วครับ :)
Post a Comment