เมื่อไม่นานมานี้ผมได้เข้าไปค้นงานที่มหาวิทยาลัยเป็นครั้งเป็นคราวเพราะอาจารย์ท่านรักผมเอามากเล่นนัดเจอกันแบบถี่ยิบตาเลย ผมได้มีโอกาสไปค้นงานที่ห้องสมุด Cujas ตรงข้ามกับมหาลัยของผม ที่นี่เป็นห้องสมุดที่เก็บวิทยานิพพนธ์ ปริญญาเอกตั้งแต่ยุคโบร่ำโบราณ เมื่อผมเข้าไปค้นงานคิดไว้นานแล้วว่าอยากเห็นผลงานของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ว่าท่านเขียนเรื่องอะไรไว้ เมื่อมีโอกาสจึงได้ทำการค้นและก้ได้ดังใจหวัง
วิทยานิพนธ์ของท่านชื่อว่า “DU SORT DES Sociétés de Personnes en cas de Décès d’un Associé “ซึ่งผมขอพูดตรงๆว่าผมไม่ทราบรายละเอียดดีเท่าไหร่ หลังจากนั้นผมจึงได้ไปค้นหาคำศัพท์ที่ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อนำไปค้นหาในพจนานุกรมศัพท์กฏหมาย [1]แล้วก็พบว่าเป็นเรื่อง “ผลแห่งความตายของห้างหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งอันมีผลต่อห้างหุ้นส่วนสามัญ[2]” ผมมีความเห็นว่าในกฏหมายเรื่องหุ้นส่วนบริษัทตามประมวลกกหมายแพ่งของไทยที่จัดทำขึ้นคงไดรับอิทธิพลของท่านไปไม่มากไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนสามัญแต่ละคนนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล( Intuitus personae) เมื่อห้างหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตายต้องยกเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้นๆ[3] โดยหลักของกฏหมายโรมัน Ulpien อธิบายว่า “ Societas solvitur ex personis” หรือ ห้างสิ้นสุดลงเมื่อความตายของหุ้นส่วน
ในความเห็นส่วนตัว ตอนแรกผมนั่งครุ่นคิดว่าทำไมปรีดีทำเรื่องที่ดูแล้วไม่น่าจะซับซ้อนอะไรมากแต่เป็นการเขียนวิทยานิพนเชิงลึก แต่พอลองอนุมานและอ่านบางส่วนก็พบว่าไม่ธรรมดาเพราะว่าเมื่อเราย้อนกลับไปเมื่อแปดสิบปีก่อนการเขียนเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย อีกทั้งภาษาที่ใช้เป็นภาษาเขียนที่ดี(ซึ่งแตกต่างจากงานเขียนยุคนี้มาก)
ในที่นี้ผมขอกล่าวแค่พอสังเขปว่า ในหน้าแรกปรีดีเริ่มต้นด้วยการเขียนสั้นๆว่า “วิทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นความเห็นของท่านเองโปรดใช้วิจารณญาณในการศึกษากันเอง” ส่วนหน้าปกทำให้ทราบว่าท่านสอบวิทยานิพนธ์วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ คศ. ๑๙๒๗ ซึ่งผมคิดว่าหลังจากท่านสอบผ่านคงไปฉลองวาเลนไทน์ต่อเป็นแน่(ล้อเล่นครับ) สมัยนั้นปรีดีใส่ชื่อของตนเองและกำกับว่าเป็นเนติบัณฑิตแห่งราชอาญาจักรสยาม
สิ่งที่ผมสนใจที่สุดในวิทยานิพนฉบับนี้คงจะเป็นบุคคลที่ท่านกล่าวคำนิยมและตัวอาจารย์ผู้ทำการควบคุมวิทยานิพนธ์ของท่าน อาจารย์ที่เป็นประธานในการสอบครั้งนี้ชื่อว่า Monsieur Percerou ส่วนอาจารย์ที่เป็นกรรมการชื่อว่า MM. Lévy-ULLMANN และ MM. Maurice PICARD
สิ่งที่ผมติดใจที่สุดคือบุคคลที่ปรีดีเขียนขอบคุณไว้ในวิทยานิพนธ์ คือ นอกจากพ่อแม่ ครูบาอาจารย์แล้วยังมีอีกคนคือ A.M. Eugène LAYDEKER ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษากฏหมายของกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรสยามในขณะนั้น เมื่ออ่านงานเขียนบางส่วนของรัฐบุรุษของประเทศก็อดนึกถึงบ้านเราไม่ได้ ผมจำได้ว่าเมื่อหกปีก่อนตอนอยู่ที่ท่าพระจันทร์เด็กที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะรู้สึกภาคภูมิใจกับปรีดีมากโดยที่พวกเขาแทบไม่ได้รับรู้ด้วยซ้ำไปว่าคนผู้นี้ทำอะไรมาก่อน รู้แต่เพียงว่าน่าจะเป็นคนดีและเก่งของประเทศ บ้างก็เอาพวงมาลัยไปวาง บ้างก็จุดธูปจุดเทียนบูชา ผมว่าอีกไม่นานคงมีคนไปขูดขอหวยและบูชาเยี่ยงเทพเจ้าต่อไป นี่ละครับคนไทยเราสุดท้ายก็จะเหลือแต่รูปแบบแต่ละเนื้อหาไว้เบื้องหลังเสมอ
[1] Gérard Cornu, « Vocabulaire juridique », PUF 6 éd., 2004, P. 856
[2] หมายเหตุ คำแปลนี้ไม่ตรงกับนิยามของห้างหุ้นส่วนสามัญในกฏหมายไทยมาตรา ๑๐๒๕ จนถึง ๑๐๗๐ โดยคำนิยามตามพจนานุกรมที่ให้นิยามไว้ดังนี้ “ Société à laquelle chaque associé est réputé n’avoir consenti qu’en considération de la personne de ses coassociés et qui exige leur collaboration personnelle à la poursuite du but social d’où il résulte que la part sociale de chacun d’eux n’est transmis sable qu’en vertu d’une clause express “
[3] The Thai civil and commercial code Art. 1055 (5)
วิทยานิพนธ์ของท่านชื่อว่า “DU SORT DES Sociétés de Personnes en cas de Décès d’un Associé “ซึ่งผมขอพูดตรงๆว่าผมไม่ทราบรายละเอียดดีเท่าไหร่ หลังจากนั้นผมจึงได้ไปค้นหาคำศัพท์ที่ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อนำไปค้นหาในพจนานุกรมศัพท์กฏหมาย [1]แล้วก็พบว่าเป็นเรื่อง “ผลแห่งความตายของห้างหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งอันมีผลต่อห้างหุ้นส่วนสามัญ[2]” ผมมีความเห็นว่าในกฏหมายเรื่องหุ้นส่วนบริษัทตามประมวลกกหมายแพ่งของไทยที่จัดทำขึ้นคงไดรับอิทธิพลของท่านไปไม่มากไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนสามัญแต่ละคนนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล( Intuitus personae) เมื่อห้างหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตายต้องยกเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้นๆ[3] โดยหลักของกฏหมายโรมัน Ulpien อธิบายว่า “ Societas solvitur ex personis” หรือ ห้างสิ้นสุดลงเมื่อความตายของหุ้นส่วน
ในความเห็นส่วนตัว ตอนแรกผมนั่งครุ่นคิดว่าทำไมปรีดีทำเรื่องที่ดูแล้วไม่น่าจะซับซ้อนอะไรมากแต่เป็นการเขียนวิทยานิพนเชิงลึก แต่พอลองอนุมานและอ่านบางส่วนก็พบว่าไม่ธรรมดาเพราะว่าเมื่อเราย้อนกลับไปเมื่อแปดสิบปีก่อนการเขียนเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย อีกทั้งภาษาที่ใช้เป็นภาษาเขียนที่ดี(ซึ่งแตกต่างจากงานเขียนยุคนี้มาก)
ในที่นี้ผมขอกล่าวแค่พอสังเขปว่า ในหน้าแรกปรีดีเริ่มต้นด้วยการเขียนสั้นๆว่า “วิทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นความเห็นของท่านเองโปรดใช้วิจารณญาณในการศึกษากันเอง” ส่วนหน้าปกทำให้ทราบว่าท่านสอบวิทยานิพนธ์วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ คศ. ๑๙๒๗ ซึ่งผมคิดว่าหลังจากท่านสอบผ่านคงไปฉลองวาเลนไทน์ต่อเป็นแน่(ล้อเล่นครับ) สมัยนั้นปรีดีใส่ชื่อของตนเองและกำกับว่าเป็นเนติบัณฑิตแห่งราชอาญาจักรสยาม
สิ่งที่ผมสนใจที่สุดในวิทยานิพนฉบับนี้คงจะเป็นบุคคลที่ท่านกล่าวคำนิยมและตัวอาจารย์ผู้ทำการควบคุมวิทยานิพนธ์ของท่าน อาจารย์ที่เป็นประธานในการสอบครั้งนี้ชื่อว่า Monsieur Percerou ส่วนอาจารย์ที่เป็นกรรมการชื่อว่า MM. Lévy-ULLMANN และ MM. Maurice PICARD
สิ่งที่ผมติดใจที่สุดคือบุคคลที่ปรีดีเขียนขอบคุณไว้ในวิทยานิพนธ์ คือ นอกจากพ่อแม่ ครูบาอาจารย์แล้วยังมีอีกคนคือ A.M. Eugène LAYDEKER ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษากฏหมายของกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรสยามในขณะนั้น เมื่ออ่านงานเขียนบางส่วนของรัฐบุรุษของประเทศก็อดนึกถึงบ้านเราไม่ได้ ผมจำได้ว่าเมื่อหกปีก่อนตอนอยู่ที่ท่าพระจันทร์เด็กที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะรู้สึกภาคภูมิใจกับปรีดีมากโดยที่พวกเขาแทบไม่ได้รับรู้ด้วยซ้ำไปว่าคนผู้นี้ทำอะไรมาก่อน รู้แต่เพียงว่าน่าจะเป็นคนดีและเก่งของประเทศ บ้างก็เอาพวงมาลัยไปวาง บ้างก็จุดธูปจุดเทียนบูชา ผมว่าอีกไม่นานคงมีคนไปขูดขอหวยและบูชาเยี่ยงเทพเจ้าต่อไป นี่ละครับคนไทยเราสุดท้ายก็จะเหลือแต่รูปแบบแต่ละเนื้อหาไว้เบื้องหลังเสมอ
[1] Gérard Cornu, « Vocabulaire juridique », PUF 6 éd., 2004, P. 856
[2] หมายเหตุ คำแปลนี้ไม่ตรงกับนิยามของห้างหุ้นส่วนสามัญในกฏหมายไทยมาตรา ๑๐๒๕ จนถึง ๑๐๗๐ โดยคำนิยามตามพจนานุกรมที่ให้นิยามไว้ดังนี้ “ Société à laquelle chaque associé est réputé n’avoir consenti qu’en considération de la personne de ses coassociés et qui exige leur collaboration personnelle à la poursuite du but social d’où il résulte que la part sociale de chacun d’eux n’est transmis sable qu’en vertu d’une clause express “
[3] The Thai civil and commercial code Art. 1055 (5)