หญิงสาวคนหนึ่งทอดสายตามองเวลาที่นาฬิกาข้อมือของเธออย่างช้าๆ.........เธอกำลังรอคอยอะไรบางอย่าง เธอกำลังรอคอยคนรัก.....หรือรอสายโทรศัพท์จากคนที่คิดถึง......เธอรอให้ยิ้มออก.....หรือรอให้ความเศร้าหายไป
เธอเหลียวดูเวลาแล้วก็สงสัยว่า...ความรักของเธอก็เหมือนเข็มนาฬิกา
เข็มสั้น แน่นิ่งมั่นคงเหมือน...เหตุผลในตัวที่คอยควบคุมใจ
เข็มยาว เดินเร็วหน่อยเหมือน....ความรักที่แปรปรวนเป็นบางเวลา
เข็มวินาที เปลี่ยนแปลงตลอดเหมือน...อารมณ์ที่ขึ้นๆลงไม่แน่นอน
ไม่สิ......มันอาจสลับที่กันก็ได้มั้ง....แต่ที่แน่ๆ มันไม่นิ่ง แกว่งไปแกว่งมา และสวนทางกันอยู่เสมอ?
เธอจ้องดูนาฬิกาแล้วคิดไปว่า.....เราจะปรับอารมณ์และความแน่นอนในตัวให้ตรงเหมือนนาฬิกาได้มั้ย อยากให้เค้ามาหาสมำ่เสมอ อยากให้เค้าดูแล ตลก ใส่ใจ อื่นๆอีกมากมาย
นาฬิกาก็แหงนหน้าดูเธอเช่นกัน เขาอยากบอกอะไรเธอมากมายแต่เขาพูดไม่ได้.......เขาแค่คิดบ้างบ่นในใจบ้าง...ฉันมีกลไกสลับซับซ้อน แต่ฉันให้ความแน่นอนกับเธอได้ ให้ความชัดเจนกับเธอได้และที่แน่ๆ ฉันอยู่ข้างๆเธอเสมอนั่นแหละ ยังไงก็ตามฉันก็มีอายุการใช้งานอยู่ดี แม้แต่ตัวฉันเองก็ไม่อาจหมุนเวลา
ให้ตัวเองกลับไปเพื่ออยู่กับเธอได้ตลอด
................................ฉันต้องการเพียงใส่ใจเวลาเธอพูดคุย.................
................เสนอตัวทำอะไรก็ได้แทนตอนที่เธอเหนื่อย
ให้ความสนใจเธอมากกว่าคนอื่น........
อยู่ข้างๆเธอเวลาเธอไม่พอใจ.......................และถามคำถามดีดีสักคำว่าเธอกำลังจะทำอะไรต่อไป
แค่อยากดูแล......มันผิดรึไง....
มุมมองโดมห้างฉัตร
ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน แลกเปลี่ยนมุมมองทางกฎหมาย ทัศนะคติส่วนตัวและเผยแพร่งานวิชาการ
Sunday, March 6, 2011
Wednesday, January 5, 2011
กล้องเก่าๆกับเด็กสาวร้านหนังสือ
ลิขสิทธิ์โดย ภูมินทร์ บุตรอินทร์
ช่างภาพอิสระคนหนึ่งตระเวนเก็บภาพบรรยกาศรอบๆตัวเมืองลำปางนครที่ซ่อนเร้นซึ่งเสน่หา เย็นวันนั้นเขาได้เก็บภาพสวยงามมากมายที่ดูมีชีวิตชีวา รวมถึงภาพต่างๆที่ตลาดเก่า....กาดกองต้า ภาพเด็กเล่นชิงช้าสวรรค์ ภาพคนจุดพลุ ภาพร้านของกินมากมาย ภาพคู่รัก คนอกหักไม่สมหวัง ฯลฯ...
ในวันนั้นเอง เขาได้ถ่ายภาพร้านหนังสือเก่าบริเวณตลาด ภาพนี้มีเด็กสาวตัวเล็กๆกำลังนั่งเขียนโปสการ์ดส่งหาเพื่อนที่ต่างเมือง ภาพดังกล่าวแสดงอารมณ์บางอย่างที่ชัดเจนของเด็กสาวผ่านแววตาสะท้อนเลนส์ของกล้อง ดูราวกับภาพเศร้าๆผ่านอารมณ์ของศิลปิน post-impressionism อย่าง Matisse หรือ ศิลปินร่วมสมัยคนอื่นๆ
..........................หลังจากนั้นไม่นานนัก ช่างภาพคนนี้ได้ไปเจอกับเด็กสาวอีกครั้งโดยบังเอิญ ณ ร้านนั่งเล่นกลางตัวเมืองเก่า...............เด็กสาวนั่งอ่านจดหมายอะไรบางอย่าง รอบๆตัวมีกลิ่นหอมของเธอระคนปนกลิ่นของใบชาที่ผ่านการต้มนำ้ร้อน...................
................เขาเขินอายเล็กน้อยแต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ที่จะเดินไปหาเด็กสาวพร้อมยื่นภาพถ่ายวันนั้นให้กับหล่อนและกล่าวคำขอบคุณ...เขากล่าวต่อไปว่า “ถ้าในวันนั้นไม่ได้เธอประกอบภาพ ภาพนี้คงไม่ได้อารมณ์ขนาดนี้”
เด็กสาวประหลาดใจยิ่งนัก........เธอจ้องมองภาพดังกล่าวสักครู่ใหญ่และตอบอย่างผิดหวังไปว่า “ทำไมภาพจึงดูหม่นหมอง สีสันก็ดูเก่า บรรยากาศก็ดูเศร้า...ว้าเหว่..หนาวเหน็บ ท้อแท้”
เด็กสาวพูดต่อ...”ฉันคิดว่ากล้องของคุณน่าจะมีปัญหา...ไม่ปัญหาเกี่ยวกับเลนส์ก็เทคนิคการถ่ายที่ทำให้ภาพดูหม่นๆและไม่น่าสนใจ...”
ช่างภาพอิสระอมยิ้มและตอบกลับไปว่า “ช่ายยครับ..กล้องของผมอาจเปลี่ยนเลนส์ ตั้งค่าวัดแสง หรือหามุมกล้องในการถ่ายครั้งใหม่ได้......แต่อารมณ์ ณ ช่วงเวลานั้นมันเปลี่ยนไม่ได้ หาใหม่ก็ไม่ได้......แววตาของคุณมันซ่อนความเศร้า มันสร้างบรรยากาศบางอย่าง เปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง แม้ว่าตอนนี้คุณจะดูเข็มแข็ง เสียงคุณหนักแน่นก็ตาม”..................ในใจของเขาคิดเบาๆว่า “ภาพไม่ได้หม่นหมอง แต่ตัวเธอต่างหากละ”
..................กล้องเก่าอาจเปลี่ยนเลนส์ใหม่ได้ เธอก็เช่นกัน ทำไมไม่เปลี่ยนวิธีมองโลกรอบๆตัวเธอเสียที
เธอเองก็คิดในใจเช่นกัน..................”ความรักไม่อาจปรับเปลี่ยนมุมมองได้ง่ายๆเหมือนกล้องซะหน่อย”
Saturday, September 11, 2010
“จิตวิญญาณแห่งรุ่นพี่รุ่นน้อง”(มธก) เป็นศิลปวัตถุอันหนึ่งที่ต้องรู้จักสร้างด้วยนำ้ใจไมตรีระหว่างกัน
ณ ขณะเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่ผมหายเหนื่อยล้าไปโดยสิ้นเชิง ภายหลังจากเห็นภาพบางอย่างที่ไม่ประติดประต่อ แต่น่าจดจำยิ่งนัก วันก่อนหน้านี้ นศ นิติศาสตร์ ศูนย์ลำปางรุ่นแรกไปส่งน้องๆขึ้นรถไฟเพื่อไปงานรับเพื่อนใหม่ที่ กทมฯ นศ รุ่น ๑ ดีใจมากเมื่อตนเองได้มีน้องๆ คณะนิติฯเป็นของตัวเองซักที ก่อนหน้านั้นทุกคนทำงานกันอย่างแข็งขันในช่วงก่อนหน้านั้นเพื่อต้อนรับน้องใหม่ บางคนมากระซิบกับผมว่า “อ อย่าซักถามกับรุ่นน้องโหดมากนะครับ(คะ) ก่อนหน้านี้ อ ทำน้องร้องไห้ไปหลายคนแล้ว” (ผมตกเป็นจำเลยในคดีทารุณเด็ก )
วัฒนธรรมของ มธ เป็นเช่นนี้มานานแล้ว เราเป็นหนึ่งเดียวทุกคณะ เราไม่มีการแบ่งแยก แบ่งชั้น รำ่รวยล้นฟ้า ยากดีมีจน แม้มาจากคนละที่ละทาง ร้อยพ่อพันธ์ุแม่ แต่นำ้ใจไมตรีเป็นตัวหล่อหลอมวัฒนธรรมชาวธรรมศาสตร์ ชาว มธ รู้จักคำว่า “เสรีภาพ เสมอภาคและนำ้ใจไมตรีของรุ่นพี่รุ่นน้อง” พอๆกับความรู้ที่ค่อยๆพอกพูนเพิ่มเพื่อพัฒนาผืนแผ่นดิน
วันก่อนได้คุยกับ ลูกศิษย์ นศ ศูนย์รังสิตยิ่งชื่นใจเมื่อหลายๆคนยินดีช่วยเหลือแนะนำน้องที่มีปัญหาด้านการเรียน บางครั้งนำเรื่องการเรียนไปเล่าให้เพื่อนเก่าที่เป็นทั้ง นักธุรกิจ ที่ปรึกษากฎหมายทั้งภาครัฐและเอกชน ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา ฯลฯ ทุกคนต่างยินดีและพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้หรือแนวทางการดำเนินชีวิตให้ “รุ่นน้อง”
อย่าว่าแต่ นศ ใหม่เลยครับ แม้แต่ตัวผมเอง เวลาไปเจอท่านอาจารย์ผู้ใหญ่ที่เคยสอนเรามา ทุกวันนี้หลายท่านก็เรียกผมเป็น “น้อง” เช่น อ แหวว, อ สุดา ฯลฯ
นอกจากตัวผมแล้ว แม้แต่อาจารย์ท่านอื่นๆ เมื่อได้ทราบว่ามีการทำกิจกรรมเพื่อรุ่นน้อง ต่างก็ดีใจมากมาย เช่น อ ฐาฯ มาเล่าให้ผมฟังด้วยความยินดีหลายรอบมากๆ(ซึ่งทั้งผมและ อ ฐาเป็นพวกขี้ลืมทั้งคู่ บางทีเล่าแล้วเล่าอีกด้วยความดีใจ) หรือ อาจารย์รุ่นน้องผมบางท่านมีความตั้งใจ ใส่ใจ ภูมิใจยิ่งนักในการอบรม นศ ให้เป็นคนดี คนเก่ง
บางครั้งผมแอบยิ้ม เวลาเห็น นศ หลายๆคนบุกไปให้กำลังใจท่าน(อดีต)คณบดี หรือ ท่านอาจารย์สมคิด รวมไปถึงการขออะไรตามมาอีกมากมายที่ทางลำปางไม่พร้อม อ สมคิดเองก็สละเวลามาตอบทุกคำถาม ๕๕๕ ผมชอบครับ
แต่อย่างหนึ่งที่ผมเริ่มเป็นกังวลบ้างก็คือ การแบ่งเขาแบ่งเรา ถ้า นศ ท่านใดแอบมาอ่านโน๊ตที่ผมเขียนนี้ ผมขอร้องว่าการจะรักษานำ้ใจไมตรีบางครั้งเราต้องใช้ความอดทน แม้บางครั้งเราอาจถูกเอาเปรียบ รังแก แบ่งแยก แบ่งพวก คิดต่าง คิดแปลก แต่ขอให้อโหสิให้แก่กันครับเพราะผมเชื่อว่า “จิตวิญญาณของรุ่นพี่รุ่นน้องเป็นศิลปวัตถุที่ต้องใช้เวลาและความตั้งใจ เข้าใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม แม้คนเหล่านั้นจะไม่เข้าใจ ไม่เสียสละ ไม่เห็นอกเห็นใจเหมือนเราก็ตาม” ถ้าเราแบ่งแยกกันตั้งแต่วันนี้ ก็คงไม่แปลกที่วันข้างหน้าเราจะเห็นความแบ่งแยกทวีคูณเกิดขึ้นในสังคมของเรา
วัฒนธรรมของ มธ เป็นเช่นนี้มานานแล้ว เราเป็นหนึ่งเดียวทุกคณะ เราไม่มีการแบ่งแยก แบ่งชั้น รำ่รวยล้นฟ้า ยากดีมีจน แม้มาจากคนละที่ละทาง ร้อยพ่อพันธ์ุแม่ แต่นำ้ใจไมตรีเป็นตัวหล่อหลอมวัฒนธรรมชาวธรรมศาสตร์ ชาว มธ รู้จักคำว่า “เสรีภาพ เสมอภาคและนำ้ใจไมตรีของรุ่นพี่รุ่นน้อง” พอๆกับความรู้ที่ค่อยๆพอกพูนเพิ่มเพื่อพัฒนาผืนแผ่นดิน
วันก่อนได้คุยกับ ลูกศิษย์ นศ ศูนย์รังสิตยิ่งชื่นใจเมื่อหลายๆคนยินดีช่วยเหลือแนะนำน้องที่มีปัญหาด้านการเรียน บางครั้งนำเรื่องการเรียนไปเล่าให้เพื่อนเก่าที่เป็นทั้ง นักธุรกิจ ที่ปรึกษากฎหมายทั้งภาครัฐและเอกชน ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา ฯลฯ ทุกคนต่างยินดีและพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้หรือแนวทางการดำเนินชีวิตให้ “รุ่นน้อง”
อย่าว่าแต่ นศ ใหม่เลยครับ แม้แต่ตัวผมเอง เวลาไปเจอท่านอาจารย์ผู้ใหญ่ที่เคยสอนเรามา ทุกวันนี้หลายท่านก็เรียกผมเป็น “น้อง” เช่น อ แหวว, อ สุดา ฯลฯ
นอกจากตัวผมแล้ว แม้แต่อาจารย์ท่านอื่นๆ เมื่อได้ทราบว่ามีการทำกิจกรรมเพื่อรุ่นน้อง ต่างก็ดีใจมากมาย เช่น อ ฐาฯ มาเล่าให้ผมฟังด้วยความยินดีหลายรอบมากๆ(ซึ่งทั้งผมและ อ ฐาเป็นพวกขี้ลืมทั้งคู่ บางทีเล่าแล้วเล่าอีกด้วยความดีใจ) หรือ อาจารย์รุ่นน้องผมบางท่านมีความตั้งใจ ใส่ใจ ภูมิใจยิ่งนักในการอบรม นศ ให้เป็นคนดี คนเก่ง
บางครั้งผมแอบยิ้ม เวลาเห็น นศ หลายๆคนบุกไปให้กำลังใจท่าน(อดีต)คณบดี หรือ ท่านอาจารย์สมคิด รวมไปถึงการขออะไรตามมาอีกมากมายที่ทางลำปางไม่พร้อม อ สมคิดเองก็สละเวลามาตอบทุกคำถาม ๕๕๕ ผมชอบครับ
แต่อย่างหนึ่งที่ผมเริ่มเป็นกังวลบ้างก็คือ การแบ่งเขาแบ่งเรา ถ้า นศ ท่านใดแอบมาอ่านโน๊ตที่ผมเขียนนี้ ผมขอร้องว่าการจะรักษานำ้ใจไมตรีบางครั้งเราต้องใช้ความอดทน แม้บางครั้งเราอาจถูกเอาเปรียบ รังแก แบ่งแยก แบ่งพวก คิดต่าง คิดแปลก แต่ขอให้อโหสิให้แก่กันครับเพราะผมเชื่อว่า “จิตวิญญาณของรุ่นพี่รุ่นน้องเป็นศิลปวัตถุที่ต้องใช้เวลาและความตั้งใจ เข้าใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม แม้คนเหล่านั้นจะไม่เข้าใจ ไม่เสียสละ ไม่เห็นอกเห็นใจเหมือนเราก็ตาม” ถ้าเราแบ่งแยกกันตั้งแต่วันนี้ ก็คงไม่แปลกที่วันข้างหน้าเราจะเห็นความแบ่งแยกทวีคูณเกิดขึ้นในสังคมของเรา
Monday, July 5, 2010
อิฐก้อนแรก
หลังจากครุ่นคิดอยู่นานว่าจะเขียนอะไรให้นักศึกษาที่ทำค่ายพัฒนา ผมก็ได้ไอเดียจากการมองเห็นพวกเขาทำบ้านดิน ก่อนที่จะทำบ้านดินขึ้นเป็นหลังๆด้วยความยากลำบากนี้ สิ่งแรกที่ต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งก็คือการจัดทำอิฐแต่ละก้อนที่ทำมาจากดินเหนียวผสมกับแกลบและขี้วัว....
กว่าจะได้อิฐแต่ละก้อนต้องผ่านกระบวนการเดินเหยียบ นวดและผสมดินเหนียวจากความสามัคคีของกลุ่มนักศึกษาที่ทำบ้านดินให้กับชุมชนต่างๆที่พวกเขาลงไปพัฒนา หลังจากนั้นต้องนำก้อนดินเหนียวเหล่านี้ไปตากแดดจนแข็งกว่าจะได้อิฐแต่ละก้อน ผมคงต้องเทียบคนกลุ่มแรกที่ไปบุกเบิกอะไรใหม่ๆในสังคมเหมือนดั่งอิฐก้อนแรกที่ใช้ก่อสร้างกำแพง หรือ สิ่งปลูกสร้าง เพราะถ้าไม่มีอิฐก้อนแรกที่เป็นฐานคำ้จุนเหล่านี้ ก็คงไม่มีการก่อตัวขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง ยิ่งไปกว่านั้น ผมเชื่อว่าสิ่งปลูกสร้างที่สวยงาม เช่น ปราสาท ราชวัง วัดวาอาราม.......คงจะมีแต่คนชื่นชม แต่คงไม่มีใครรู้ว่าความสำเร็จเหล่านี้เกิดขึ้นจากอิฐก้อนแรกเหล่านี้เอง
กลุ่มนักศึกษาที่มาบุกเบิกอยู่ที่นี่ก็คงเทียบได้กับอิฐก้อนแรก.......ถ้าไม่มี ก็คงไม่มีการสานต่อที่ยิ่งใหญ่
กว่าจะได้อิฐแต่ละก้อนต้องผ่านกระบวนการเดินเหยียบ นวดและผสมดินเหนียวจากความสามัคคีของกลุ่มนักศึกษาที่ทำบ้านดินให้กับชุมชนต่างๆที่พวกเขาลงไปพัฒนา หลังจากนั้นต้องนำก้อนดินเหนียวเหล่านี้ไปตากแดดจนแข็งกว่าจะได้อิฐแต่ละก้อน ผมคงต้องเทียบคนกลุ่มแรกที่ไปบุกเบิกอะไรใหม่ๆในสังคมเหมือนดั่งอิฐก้อนแรกที่ใช้ก่อสร้างกำแพง หรือ สิ่งปลูกสร้าง เพราะถ้าไม่มีอิฐก้อนแรกที่เป็นฐานคำ้จุนเหล่านี้ ก็คงไม่มีการก่อตัวขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง ยิ่งไปกว่านั้น ผมเชื่อว่าสิ่งปลูกสร้างที่สวยงาม เช่น ปราสาท ราชวัง วัดวาอาราม.......คงจะมีแต่คนชื่นชม แต่คงไม่มีใครรู้ว่าความสำเร็จเหล่านี้เกิดขึ้นจากอิฐก้อนแรกเหล่านี้เอง
กลุ่มนักศึกษาที่มาบุกเบิกอยู่ที่นี่ก็คงเทียบได้กับอิฐก้อนแรก.......ถ้าไม่มี ก็คงไม่มีการสานต่อที่ยิ่งใหญ่
Tuesday, March 2, 2010
นิยามของ “ค่ายสร้างฯ”ในทัศนะคติของผม
นิยามของ “ค่ายสร้างฯ”ในทัศนะคติของผม
เย็นวันนี้นักศึกษาของผมกลุ่มหนึ่งที่ร่วมแรงร่วมใจกันทำโครงการค่ายอาสาและพัฒนาชุมชนได้เดินเข้ามาหาผมและขอร้องให้ผมเขียนถึงความคิดเห็น ประโยชน์ของการจัดทำโครงการดังกล่าว
ผมย้อนกลับไปคิดถึงสมัยที่ยังเป็นนักศึกษาปีแรกที่ธรรมศาสตร์ สมัยนั้นทุกคนที่ได้เข้ามาเรียนที่นี่ต่างโหยหาพฤติกรรมในอุดมคติเฉกเช่นอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ทั้งในแง่รูปแบบและตัวเนื้อหา ที่เรียกว่าเชิงรูปแบบนั้นเรียกได้ว่าเป็นแฟชั่นเพื่อชีวิตก็ว่าได้ เช่น การทำตัวให้เป็นพวก ๕ ย.(เสื้อยืด กางเกงยีน ผมยาว สะพายย่าม รองเท้ายาง) หรือ การหาเพลงเพื่อชีวิตแบบคาราวานมาร้องเอาเท่ครับ ผมจำได้ว่าตอนนั้นใครเอาเพลงแนวหนุ่มเนี้ยบเดินสยาม เช่น เพลงแนวๆค่ายเบเกอรี่มิวซิคมาร้องเนี่ยไม่เท่ครับ (ถูกเพื่อนๆในคณะประณามเล็กน้อย)
อีกส่วนที่เรียกกันว่าเชิงเนื้อหานี้ ถือว่าใครได้ลงค่ายสร้างฯภาคปฏิบัติ ก็จะเป็นหนุ่มสาวธรรมศาสตร์ในอุดมการณ์อย่างแท้จริงครับ เนื่องจากได้เข้าไปพัฒนาชุมชนตามแนวทางเพื่อสังคมจริงๆ
คำว่า “ค่ายสร้างฯ” นั้นมีสองมิติครับ มิติแรกคือการนิยามเชิงอัตวิสัย ส่วนมิติหลังคือการนิยามเชิงภาวะวิสัย เป็นอย่างไรกันแน่................................งง!
คำว่า “ค่ายสร้างฯ”เชิงภาวะวิสัยนั้นหมายถึงการสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น การออกค่ายสร้างประโยชน์ให้หมู่บ้าน ชุมชน สังคมนั้นๆเกิดความเข็มแข็งทั้งการศึกษา เศรษฐกิจและสถาบันครอบครัว การสร้างสรรค์เพียงวัตถุปัจจัยนั้นไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของการลงชุมชนเพราะไม่ใช่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ส่วนคำว่า “ค่ายสร้างฯ” เชิงอัตวิสัยนั้นหมายถึง ค่ายดังกล่าวได้สร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้ ประโยชน์ที่ว่านี้คือ การสร้างเพื่อน ทำให้เราได้มิตรสหายเพิ่มขึ้น การสร้างน้ำใจไมตรี ทำให้เรารู้จักที่จะให้กับผู้อื่น และที่มากกว่าทุกเรื่องคือการสร้างอุดมการณ์ให้คงอยู่
..........................................เราคงจะไม่รู้จักอุดมการณ์เพื่อมวลชน ถ้าเราไม่เริ่มที่จะสร้างอะไร..............
เย็นวันนี้นักศึกษาของผมกลุ่มหนึ่งที่ร่วมแรงร่วมใจกันทำโครงการค่ายอาสาและพัฒนาชุมชนได้เดินเข้ามาหาผมและขอร้องให้ผมเขียนถึงความคิดเห็น ประโยชน์ของการจัดทำโครงการดังกล่าว
ผมย้อนกลับไปคิดถึงสมัยที่ยังเป็นนักศึกษาปีแรกที่ธรรมศาสตร์ สมัยนั้นทุกคนที่ได้เข้ามาเรียนที่นี่ต่างโหยหาพฤติกรรมในอุดมคติเฉกเช่นอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ทั้งในแง่รูปแบบและตัวเนื้อหา ที่เรียกว่าเชิงรูปแบบนั้นเรียกได้ว่าเป็นแฟชั่นเพื่อชีวิตก็ว่าได้ เช่น การทำตัวให้เป็นพวก ๕ ย.(เสื้อยืด กางเกงยีน ผมยาว สะพายย่าม รองเท้ายาง) หรือ การหาเพลงเพื่อชีวิตแบบคาราวานมาร้องเอาเท่ครับ ผมจำได้ว่าตอนนั้นใครเอาเพลงแนวหนุ่มเนี้ยบเดินสยาม เช่น เพลงแนวๆค่ายเบเกอรี่มิวซิคมาร้องเนี่ยไม่เท่ครับ (ถูกเพื่อนๆในคณะประณามเล็กน้อย)
อีกส่วนที่เรียกกันว่าเชิงเนื้อหานี้ ถือว่าใครได้ลงค่ายสร้างฯภาคปฏิบัติ ก็จะเป็นหนุ่มสาวธรรมศาสตร์ในอุดมการณ์อย่างแท้จริงครับ เนื่องจากได้เข้าไปพัฒนาชุมชนตามแนวทางเพื่อสังคมจริงๆ
คำว่า “ค่ายสร้างฯ” นั้นมีสองมิติครับ มิติแรกคือการนิยามเชิงอัตวิสัย ส่วนมิติหลังคือการนิยามเชิงภาวะวิสัย เป็นอย่างไรกันแน่................................งง!
คำว่า “ค่ายสร้างฯ”เชิงภาวะวิสัยนั้นหมายถึงการสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น การออกค่ายสร้างประโยชน์ให้หมู่บ้าน ชุมชน สังคมนั้นๆเกิดความเข็มแข็งทั้งการศึกษา เศรษฐกิจและสถาบันครอบครัว การสร้างสรรค์เพียงวัตถุปัจจัยนั้นไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของการลงชุมชนเพราะไม่ใช่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ส่วนคำว่า “ค่ายสร้างฯ” เชิงอัตวิสัยนั้นหมายถึง ค่ายดังกล่าวได้สร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้ ประโยชน์ที่ว่านี้คือ การสร้างเพื่อน ทำให้เราได้มิตรสหายเพิ่มขึ้น การสร้างน้ำใจไมตรี ทำให้เรารู้จักที่จะให้กับผู้อื่น และที่มากกว่าทุกเรื่องคือการสร้างอุดมการณ์ให้คงอยู่
..........................................เราคงจะไม่รู้จักอุดมการณ์เพื่อมวลชน ถ้าเราไม่เริ่มที่จะสร้างอะไร..............
Thursday, February 11, 2010
ชำเลืองใต้เงาโดม ตอนที่ ๔ - กล่องเปล่า
หลายๆ คนอาจจะมีความทรงจำดีดีที่เก็บเอาไว้แล้วไม่อยากเปิดมันออกมาอีก ด้วยเหตุที่ว่าตอนจบของมันดีอยู่แล้ว หรือ อยากหยุดเอาเพียงแค่นั้น ถึงแม้ระยะเวลาผ่านพ้นไปเพียงใด แต่เชื่อได้ว่าความทรงจำดีดีของทุกคนยังมีอยู่
เรื่องเล่ามีอยู่ว่า วันหนึ่ง เด็กชายได้ค้นพบกล่องใบเก่าที่เก็บความทรงจำวัยหนุ่มของคุณปู่ของเขา กล่องได้เก็บจดหมายจำนวนมากมายและมีอีกกล่องเป็นเพียงกล่องใส่แหวนใบเล็กที่ว่างเปล่า เด็กชายเริ่มต้นอ่านจดหมายเก่าๆ จำนวนมากเหล่านั้น จดหมายได้บรรยายความรู้สึกที่คุณปู่แสดงความรักต่อเพื่อนหญิงคนหนึ่ง เด็กน้อยประติดประต่อเรื่องราวต่างๆ ที่พรรณนาเอาไว้ด้วยกันจนเป็นเรื่องราวสมัยก่อน เรื่องราวที่ถ่ายทอดอารมณ์ เรื่องราวที่แสดงถึงความรู้สึกมากมาย
“ วันที่ ๘ ธันวา วันนี้ตื่นแต่เช้าเพราะมีแรงจูงใจอะไรบางอย่าง เมื่อมีความรู้สึกดีกับใครบางคนมันทำให้เราทำอะไรได้ทั้งวันโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย.....”
“วันที่ ๒๖ ธันวา วันนี้ไม่รู้เกิดอะไร เธอร้องไห้ตาปูดเลย (สงสัยมาสคาล่าไหลย้อยแหงๆ) ความรู้สึกเธอคงถูกทำร้าย เป็นโอกาสดีที่ได้ดูแลแล้ว”
“วันที่ ๔ มีนา หาซื้อดอกไม้ให้เธอบ้าง เธอชอบดอกสีขาว(เดาเอา)”
“ วันที่ ๑๒ มีนา ดูท่าเธอจะเหนื่อยจากงานแน่ๆ อย่าลืมถามว่าวันนี้เหนื่อยรึเปล่า”
“วันที่ ๓ เมษา วันนี้ไม่รู้ไปโกรธใครมา (อย่าลืมเข้าข้างเธอละ ทำไปเถอะ) “
“วันที่ ๑๐ เมษา วันนี้เธอบ่นว่าปวดแขน อย่าลืมไปนวดแขนให้ละจะได้แต้ะอั๋งซะ ยังดีซะกว่าเพื่อนเราบางคนต้องไปนวดตีน เหอะๆ”
“วันที่ ๑ พฤษภา ไปต่างจังหวัด ไม่ได้อยู่ดูแลที่รักเลย ก่อนกลับอย่าลืมถามว่าที่รักอยากได้อะไรบ้าง”
“วันที่ ๑๙ มิถุนา ๒๕๕๑ (อยาก) กอดเธอวันละหนึ่งครั้ง (อยาก) บอกรักเธอทุกวัน”
เด็กน้อยเผลอหลับไปในช่วงเวลานั้นเอง...... รุ่งเช้าวันต่อมาหลานชายตื่นขึ้นมาด้วยความฉงนสงสัยยิ่งนักว่าทำไมจดหมายจึงเขียนมาถึงปัจจุบัน หลายชายตามหาคุณปู่ เช้าวันนี้คุณปู่นั่งเล่นอยู่ที่สวนหลังบ้าน หลานชายเข้ามานั่งใกล้ๆแล้วถามขึ้นว่า “คุณปู่เล่าเรื่องคนรักที่อยู่ในกล่องนั้นให้ผมฟังหน่อยจิ”
ปู่ยิ้มแล้วตอบว่า”เอากล่องใบใหญ่ หรือ กล่องแหวนใบเล็ก” คำถามดังกล่าวทำให้หลานชายงง หลายชายตอบกลับไปว่า “งั้นเอากล่องใบเล็กก่อน” ปู่จึงเริ่มเล่าให้ฟังว่า “สมัยที่ยังหนุ่มอยู่นั้นได้ชอบหญิงสาวคนหนึ่ง หญิงสาวรุ่นราวคราวเดียวกัน ชอบเธอมานานแล้วและได้ใช้เวลาดูแลเธออย่างที่ความทรงจำดีดีไม่เคยลืมเลือน ด้วยความอ่อนหวานได้ขัดเกลาความแข็งกระด้างในจิตใจ ด้วยรอยยิ้มได้เจือจางความเหนื่อยล้าในแต่ละวัน เป็นระยะเวลานานพอสมควรที่ทั้งคู่ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนสิ่งดีดี มิตรภาพยั่งยืนยิ่งกว่าสิ่งใดแต่ก็ไม่เคยได้เอ่ยปากบอกความจริงใดๆ จนมาถึงวันหนึ่งวันที่เธอจะต้องจากลาไปยังที่อื่น ที่ที่ห่างไกลกัน เธอต้องไปแต่งงานกับคนที่พ่อแม่ของเธอจัดไว้เป็นคู่หมั้น วันนั้นปู่ได้ตัดสินใจหยิบเอากล่องแหวนดังกล่าวไปด้วย ไปหาเธอ ไปเพื่อบอกความในใจ เมื่อพบเธอคนนั้นต่างฝ่ายต่างมองตากัน บางครั้งภาษาไม่ได้สื่อสารกันทางคำพูดแต่ด้วยกริยา ปู่หยิบเอากล่องดังกล่าวขึ้นมาแล้วเปิดกล่องดังกล่าวออก กล่องใบเล็กดังกล่าวเป็นเพียงแค่กล่องเปล่า
ชายหนุ่มวันนั้นได้เอ่ยปากกับหญิงสาวเพียงว่า
“วันนี้ฉันไม่มีอะไรจะให้เธอ ฉันมีเพียงแค่กล่องใส่แหวน แต่ฉันไม่มีเงินพอจะซื้อแหวนให้เธอหรอก เธอรับไปเถอะ............................................................”
หญิงสาวยิ้มแล้วยื่นมือมาที่ชายหนุ่ม “สวมให้ฉันสิ......................(หญิงสาวนิ่งเงียบ)................................. สวมแหวนสูญากาศให้ฉันเถอะ” หญิงสาวยิ้มด้วยความยินดีถึงแม้ในกล่องแหวนจะว่างเปล่า ชายหนุ่มดีใจยิ่งนัก ยื่นมือไปหยิบแหวนที่อยู่ในจินตนาการของทั้งสองขึ้นมาและสวมไปที่นิ้วนางของหญิงสาว” หลังจากนั้นปู่ก็ไม่ตอบอะไร เพียงแค่ยิ้มเท่านั้น
หลานชายถามต่อไปว่า “แล้วกล่องใบใหญ่ละครับ” ปู่หัวเราะและตอบว่า “ความจริงทั้งกล่องใบใหญ่และกล่องใบเล็กไม่ได้ต่างกัน ทั้งคู่เป็นเพียงจินตนาการ”
ทั้งคนที่ผิดหวังและสมหวังต่างก็ทำสิ่งดีดีเพื่อคนที่ตัวเองรัก แล้วทำไมเราจะต้องหยุดทำด้วยล่ะครับ...........
(เรื่องนี้ผมคิดเอง แต่ดัดแปลงจากบทละครญี่ปุ่นเรื่อง Always sunshine)
ภูมินทร์ บุตรอินทร์
เรื่องเล่ามีอยู่ว่า วันหนึ่ง เด็กชายได้ค้นพบกล่องใบเก่าที่เก็บความทรงจำวัยหนุ่มของคุณปู่ของเขา กล่องได้เก็บจดหมายจำนวนมากมายและมีอีกกล่องเป็นเพียงกล่องใส่แหวนใบเล็กที่ว่างเปล่า เด็กชายเริ่มต้นอ่านจดหมายเก่าๆ จำนวนมากเหล่านั้น จดหมายได้บรรยายความรู้สึกที่คุณปู่แสดงความรักต่อเพื่อนหญิงคนหนึ่ง เด็กน้อยประติดประต่อเรื่องราวต่างๆ ที่พรรณนาเอาไว้ด้วยกันจนเป็นเรื่องราวสมัยก่อน เรื่องราวที่ถ่ายทอดอารมณ์ เรื่องราวที่แสดงถึงความรู้สึกมากมาย
“ วันที่ ๘ ธันวา วันนี้ตื่นแต่เช้าเพราะมีแรงจูงใจอะไรบางอย่าง เมื่อมีความรู้สึกดีกับใครบางคนมันทำให้เราทำอะไรได้ทั้งวันโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย.....”
“วันที่ ๒๖ ธันวา วันนี้ไม่รู้เกิดอะไร เธอร้องไห้ตาปูดเลย (สงสัยมาสคาล่าไหลย้อยแหงๆ) ความรู้สึกเธอคงถูกทำร้าย เป็นโอกาสดีที่ได้ดูแลแล้ว”
“วันที่ ๔ มีนา หาซื้อดอกไม้ให้เธอบ้าง เธอชอบดอกสีขาว(เดาเอา)”
“ วันที่ ๑๒ มีนา ดูท่าเธอจะเหนื่อยจากงานแน่ๆ อย่าลืมถามว่าวันนี้เหนื่อยรึเปล่า”
“วันที่ ๓ เมษา วันนี้ไม่รู้ไปโกรธใครมา (อย่าลืมเข้าข้างเธอละ ทำไปเถอะ) “
“วันที่ ๑๐ เมษา วันนี้เธอบ่นว่าปวดแขน อย่าลืมไปนวดแขนให้ละจะได้แต้ะอั๋งซะ ยังดีซะกว่าเพื่อนเราบางคนต้องไปนวดตีน เหอะๆ”
“วันที่ ๑ พฤษภา ไปต่างจังหวัด ไม่ได้อยู่ดูแลที่รักเลย ก่อนกลับอย่าลืมถามว่าที่รักอยากได้อะไรบ้าง”
“วันที่ ๑๙ มิถุนา ๒๕๕๑ (อยาก) กอดเธอวันละหนึ่งครั้ง (อยาก) บอกรักเธอทุกวัน”
เด็กน้อยเผลอหลับไปในช่วงเวลานั้นเอง...... รุ่งเช้าวันต่อมาหลานชายตื่นขึ้นมาด้วยความฉงนสงสัยยิ่งนักว่าทำไมจดหมายจึงเขียนมาถึงปัจจุบัน หลายชายตามหาคุณปู่ เช้าวันนี้คุณปู่นั่งเล่นอยู่ที่สวนหลังบ้าน หลานชายเข้ามานั่งใกล้ๆแล้วถามขึ้นว่า “คุณปู่เล่าเรื่องคนรักที่อยู่ในกล่องนั้นให้ผมฟังหน่อยจิ”
ปู่ยิ้มแล้วตอบว่า”เอากล่องใบใหญ่ หรือ กล่องแหวนใบเล็ก” คำถามดังกล่าวทำให้หลานชายงง หลายชายตอบกลับไปว่า “งั้นเอากล่องใบเล็กก่อน” ปู่จึงเริ่มเล่าให้ฟังว่า “สมัยที่ยังหนุ่มอยู่นั้นได้ชอบหญิงสาวคนหนึ่ง หญิงสาวรุ่นราวคราวเดียวกัน ชอบเธอมานานแล้วและได้ใช้เวลาดูแลเธออย่างที่ความทรงจำดีดีไม่เคยลืมเลือน ด้วยความอ่อนหวานได้ขัดเกลาความแข็งกระด้างในจิตใจ ด้วยรอยยิ้มได้เจือจางความเหนื่อยล้าในแต่ละวัน เป็นระยะเวลานานพอสมควรที่ทั้งคู่ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนสิ่งดีดี มิตรภาพยั่งยืนยิ่งกว่าสิ่งใดแต่ก็ไม่เคยได้เอ่ยปากบอกความจริงใดๆ จนมาถึงวันหนึ่งวันที่เธอจะต้องจากลาไปยังที่อื่น ที่ที่ห่างไกลกัน เธอต้องไปแต่งงานกับคนที่พ่อแม่ของเธอจัดไว้เป็นคู่หมั้น วันนั้นปู่ได้ตัดสินใจหยิบเอากล่องแหวนดังกล่าวไปด้วย ไปหาเธอ ไปเพื่อบอกความในใจ เมื่อพบเธอคนนั้นต่างฝ่ายต่างมองตากัน บางครั้งภาษาไม่ได้สื่อสารกันทางคำพูดแต่ด้วยกริยา ปู่หยิบเอากล่องดังกล่าวขึ้นมาแล้วเปิดกล่องดังกล่าวออก กล่องใบเล็กดังกล่าวเป็นเพียงแค่กล่องเปล่า
ชายหนุ่มวันนั้นได้เอ่ยปากกับหญิงสาวเพียงว่า
“วันนี้ฉันไม่มีอะไรจะให้เธอ ฉันมีเพียงแค่กล่องใส่แหวน แต่ฉันไม่มีเงินพอจะซื้อแหวนให้เธอหรอก เธอรับไปเถอะ............................................................”
หญิงสาวยิ้มแล้วยื่นมือมาที่ชายหนุ่ม “สวมให้ฉันสิ......................(หญิงสาวนิ่งเงียบ)................................. สวมแหวนสูญากาศให้ฉันเถอะ” หญิงสาวยิ้มด้วยความยินดีถึงแม้ในกล่องแหวนจะว่างเปล่า ชายหนุ่มดีใจยิ่งนัก ยื่นมือไปหยิบแหวนที่อยู่ในจินตนาการของทั้งสองขึ้นมาและสวมไปที่นิ้วนางของหญิงสาว” หลังจากนั้นปู่ก็ไม่ตอบอะไร เพียงแค่ยิ้มเท่านั้น
หลานชายถามต่อไปว่า “แล้วกล่องใบใหญ่ละครับ” ปู่หัวเราะและตอบว่า “ความจริงทั้งกล่องใบใหญ่และกล่องใบเล็กไม่ได้ต่างกัน ทั้งคู่เป็นเพียงจินตนาการ”
ทั้งคนที่ผิดหวังและสมหวังต่างก็ทำสิ่งดีดีเพื่อคนที่ตัวเองรัก แล้วทำไมเราจะต้องหยุดทำด้วยล่ะครับ...........
(เรื่องนี้ผมคิดเอง แต่ดัดแปลงจากบทละครญี่ปุ่นเรื่อง Always sunshine)
ภูมินทร์ บุตรอินทร์
ชำเลืองใต้เงาโดม ตอนที่ ๓ – ความรักของแมลงเม่าและหิงห้อย
เนื่องจากใกล้วันตรุษและวันวาเลนไทน์ ตัวผมนั้นกำลังจะไปเมืองจีนในวันมะรืนนี้แล้ว แต่ผมก็บังเอิญได้ไอเดียเขียนเรื่องสั้นให้เป็นของขวัญสำหรับวันแห่งความรักที่กำลังจะมาถึงเร็วๆนี้สำหรับทุกๆคนครับ เรื่องนี้ผมได้ไอเดียจากทฤษฎีความขัดแย้ง (Dialectics) ของนักปรัชญาเยอรมันชื่อ Hegel โดยมีเนื้อเรื่องดังนี้ครับ
“คืนวันหนึ่งในเขตทะเลป่าชายเลน ลมพัดพร้าวไหวเย็นสบายพร้อมเสียงคลื่นเบาๆริมฝั่งทะเลเขตการประมงของชาวเล มองไปสุดสายตาเห็นแสงไฟริบหรี่ ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากกองถ่านที่ไหม้เถ้าของเศษไม้โกงกาง เรื่องของความรักน้อยนิดเริ่มที่นี่และจบลงที่นี่
ก่อนหน้านี้ไม่นานนักคือจุดกำเนิดของเรื่องราวเกี่ยวกับความรักและการอธิบายซึ่งกันและกันระหว่างแมลงเม่ากับหิงห้อย “ทำไมธรรมชาติแมลงเม่าจึงต้องบินเข้าในกองไฟและทำไมหิงห้อยจึงต้องกระพริบส่องแสง”
ในคืนก่อนหน้านั้นมีแมลงเม่าฝูงใหญ่บินผ่านต้นลำพูใหญ่อันเป็นที่รักที่หวงแหนยิ่งนักของกลุ่มชาวหิงห้อยกระพริบแสง ผ่านเพื่อไปสู่จุดหมาย หรือ ผ่านเพื่อไปสู่จุดจบ? กองไฟคือคำตอบหรืออย่างไร?
แมลงเม่าหนุ่มตัวหนึ่งพลั้งเผลอพลัดหลงทางจากฝูงของตนล่วงลงมาสู่ต้นลำพูใหญ่ ที่ซึ่งมีกลุ่มหิงห้อยกำลังสุขสันเหลือเกินกับการกินใบต้นลำพูใหญ่..................................
หิงห้อยผู้หวงแหนฯ ตะโกนถามแมลงเม่าหนุ่มว่า “เจ้าโง่ แกมาทำไมที่นี่ไม่ทราบ” แมลงเม่าหนุ่มตอบว่า “ข้าพลัดหลงจากฝูงที่กำลังบินไปยังกองไฟอันเกิดจากการเผาไม้โกงกาง เจ้ารู้หนทางไปสู่กองไฟรึไม่” กลุ่มหิงห้อยเหล่านั้นหัวเรอะร่าและพากันเย้ยหยันว่า “ดูก่อนพวกเรา เจ้าโง่นี่กำลังจะไปตายในไม่ช้า เพราะไม่สำเหนียกในความร้อนแรงของเปลวไฟ” แมลงเม่าตอบว่า “เปล่าเลย กองไฟอบอุ่น บางสิ่งที่ดูขมขื่นเช่นนั้น อาจอบอุ่นเข้าไปถึงหัวใจก็ได้ถ้าเข้าถึงอุดมคติแห่งความรัก” หิงห้อยเย้ยกลับว่า “เจ้านี่คงตาบอดเข้าแล้ว เวลามองเห็นแสงที่สว่างจ้าจากกองไฟ” แมลงเม่าหยุดคิดและตอบกลับไปอย่างช้าๆว่า “ข้าก็ไม่ได้ตาบอดนี่ ข้ายังมองเห็นพวกท่านกระพริบแสงอยู่เลยหลงเข้ามา เพียงแต่กองไฟทำให้ข้ามองเห็นอะไรบางอย่าง ทำให้ข้าตาสว่างไง”
“ถ้าเจ้าตาสว่างจริง เจ้าคงทำเหมือนเช่นที่พวกข้าทำ อยู่อย่างสุขสบายที่ต้นลำพูใหญ่นี้ คอยส่องแสงสวยงามให้ผู้คนได้เห็น” หิงห้อยตอบ
แมลงเม่ายิ้ม ก่อนทิ้งประโยคสุดท้ายก่อนจากไปว่า “ท่านทั้งหลายคงยังแยกไม่ออกจริงๆ ระหว่างคำว่า”รัก” และ “การครอบครอง”(ต้นลำพูและอื่นๆ) “ตัวข้านั้นมีความรักต่อกองไฟ แสงไฟ แต่ข้าไม่ได้ต้องการไปครอบครอง หวนแหน กีดกันเหมือนอย่างพวกท่านเลย ข้าใช้เพียงอย่างเดียวก็คือสัญชาติญาณ.............. มันบอกให้ข้ารู้เพียงว่า ข้ารักแสงไฟอันอบอุ่นนั้นด้วยสัญชาติญาณบอกว่าเป็นสิ่งที่ดีกับตัวข้า ความร้อนของไฟทำให้ข้าปีกหลุด ทำให้ข้าได้พบกับคนที่ข้ารักและการเกิดใหม่”
.....................................................ใครจะรู้ว่าแมลงเม่าพูดถูก ตามธรรมชาติเป็นไปอย่างนั้นจริงๆ การสลัดปีกของแมลงเม่าเกิดขึ้นจากความอบอุ่นของแรงไฟ ความจริงแมลงเม่าคือพญาปลวกที่ต้องการการเกิดใหม่(Reborn) เชื่อไหมว่าในช่วงฤดูหาคู่ ปลวกจะออกจากรังกลายสภาพเป็นแมลงเม่าเพียงเพื่อไปตามหาคู่ของมัน การเดินต่อตัวเป็นขบวนรถไฟที่เราเห็นก็คือการหยอกเย้ากระเซ้าเย้าแหย่กันและกันภายหลังจากที่ปีกหลุดไปแล้ว ในขณะที่ตัวด้วงอย่างหิงห้อยกำลังรอความตายภายในระยะเวลาไม่เกินสองสัปดาห์ตามอายุขัยของมันภายหลังจากที่เปล่งแสงเต็มที่
ตัวเราเองก็ไม่ได้ต่างอะไรจากแมลงเม่าเลยครับเพราะบางครั้งเราเองก็ใช้สัญชาติญาณเพื่อพิสูจน์อะไรบางอย่างที่อยู่เหนือเหตุและผล ด้วยข้อจำกัดของภาษาเราไม่อาจอธิบายบางอย่างออกมาได้ เราไม่อาจอธิบายเหตุผลตามสัญชาติญาณได้ด้วยการเอ่ยปาก อักษร ๔๔ ตัวคงน้อยเกินไป
เมื่อคุณเกิดรักใครสักคนที่มีความเป็นไปได้ยากด้วยเหตุผลต่างๆนานาเรามักจะอธิบายด้วยคำว่า “แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ” แต่ใครจะรู้ว่า แมลงเม่าก็มีเหตุผลของตัวเองตามสัญชาติญาณของการหาคู่และสานต่อ ตัวเราเองก็เช่นกัน ถ้าเรารักใครสักคนที่แม้เราไม่เคยเผชิญหน้าด้วยเลยสักครั้ง ถ้าเราจะบอกว่า “เรา.......ใช้สัญชาติญาณตามธรรมชาติเพื่อจะอธิบายว่าคนที่เราแอบมองอยู่นั้นเป็นคนที่อบอุ่นแสนดี บางทีคนๆนั้นอาจมีบางอย่างที่เราคงต้อง......ปีกหลุด....เพื่อการเกิดใหม่.......................แต่ไม่ใช่เพื่อการครอบครองและหวงแหนไว้คนเดียว
บางที สัญชาติญาณบอกให้รู้ว่าเรากำลังจะรักใคร..........................................................โดยที่ภาษา กริยา เหตุผลกำลังตาบอดและหูหนวก
การอธิบายบทละครด้วยทฤษฎีความขัดแย้ง
ตามที่นักปรัชญากรีกนิยมใช้กันนั้น Dialectics เป็นกระบวนการค้นหาสัจจะเชิงอภิปรายให้เหตุให้ผล วิธีการนี้ นักตรรกวิทยาสมัยปัจจุบัน เรียกกันว่า “แนวปฏิปักขนัย” (The Contradictory) เช่นบางคนอาจตั้งสมมติฐานขึ้นเป็นข้อยืนยันเกี่ยวกับ “ความเป็นธรรม” ว่ามีความหมายอันเดียวกันกับการพูดความจริงและความซื่อสัตย์ ประเด็นนี้เรียกว่า “ตัวยืน” (Thesis) ขั้นต่อไป คือพยายามหาเหตุผลตรงข้าม หรือขัดแย้งกับตัวยืนยันดังกล่าว ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรม แต่ไม่เกี่ยวกับการพูดความจริง และความซื่อสัตย์เลย เช่นการกระทำใด ๆ ที่ให้เกิดความสมใจทั้งสองฝ่าย เช่นนี้ เป็นต้น ประเด็นนี้ให้ชื่อว่า “ตัวแย้ง” (Antithesis) การประนีประนอม หรือการสังเคราะห์ฝ่ายที่เป็นตัวยืนกับฝ่ายที่เป็นตัวแย้งเข้าด้วยกันให้ชื่อว่า “ตัวสังเคราะห์หรือตัวยุติ” (Synthesis) ความก็จะเป็นว่า “ความยุติธรรม คือการพูดความจริงและความซื่อสัตย์ที่ให้เกิดความสมใจทั้งสองฝ่าย” ประเด็นที่สามนี้ดีกว่าและถูกต้องกว่าสองประเด็นแรกที่ขัดแย้งกันนั้น ด้วยอาศัยการลำดับช่วงความคิดเป็นทอด ๆ เช่นนี้ ช่วยให้เราได้เข้าถึงความหมายที่ถูกต้องของเรื่องนั้น ๆ
ต่อมาได้มีนักปรัชญารุ่นหลังหลายคน นำเอาสูตรนี้มาปรับปรุงใช้ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในเรื่องนี้ คือนักปรัชญาเยอรมันชื่อ Hegel เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติและประวัติศาสตร์สังคมมนุษย์ เฮเกลได้ชี้ใช้เห็นว่า สรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงขยายตัวมันเองอย่างไม่หยุดยั้ง การพัฒนานี้เป็นไปทีละขั้น ทุกขั้นทุกระดับมีการสืบเนื่องต่อกันเป็นช่วง ๆ การขยายตัวในขั้นตอนใหม่ย่อมมีรูปแบบ ปริมาณ คุณภาพ และคุณสมบัติดีกว่า ประเสริฐกว่าขั้นที่เกิดขึ้นก่อนเสมอ วิวัฒนาการดังกล่าวมิได้เป็นไปในทำนองสักแต่ว่าเป็นกระบวนความเจริญเติบโตคลี่คลายธรรมดา ๆ เท่านั้น หากเป็นไปโดยอาศัยมูลเหตุ คือ “ความขัดแย้ง” ซึ่งมีในตัวสิ่งนั้น ๆ อยู่แล้ว ในเรื่องสังคมและชีวิตมนุษย์ก็มีนัยเช่นเดียวกัน กล่าวคือได้มีการคลี่คลายขยายตัวกันมาเป็นขั้น ๆ ทั้งนี้เพราะมีพลังสองประเภทกระทำการขัดแย้งต่อต้านกันและกันอยู่เนืองนิตย์ (Opposed forces) ทำให้สังคมและชีวิตมนุษย์พัฒนาระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่หยุดยั้ง
ตามสูตรนี้ ไม่มีอะไรสมบูรณ์ ถูกต้อง ดี เลว ไปทุกอย่าง และจีรังยั่งยืนตลอดไป สรรพสิ่งอยู่ในสภาพไหลเลื่อนเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เพราะสรรพสิ่งมีพลังบวกกับพลังลบ หรือเรียกอีกอย่างคือ พลังสร้างสรรค์กับพลังทำลายอยู่ในตัว ดูเปรียบเทียบชีวิตเราที่เจริญเติบโตมาเรื่อย ๆ เป็นเพราะในตัวเรามีทั้งการทำลายและการสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา ความคิดความอ่านและความเชื่อถือก็เหมือนกัน ย่อมมีการปรับตัวและแปรสภาพอยู่เสมอ มิใช่มีอยู่อย่างไรก็อย่างนั้นเป็นนิรันดร
ทั้งนี้เพราะมีการขัดแย้งกันอย่างไม่หยุดยั้งระหว่างของเก่ากับของใหม่ ครั้นแล้วจากการขัดแย้งกันนั้น จึงจะบังเกิดสิ่งที่สามขึ้นมา โดยการประสมกลมกลืนสิ่งทั้งสองเบื้องต้นที่ขัดแย้งกันนั้นเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สิ่งที่สามนี้มีสถานภาพดีกว่าและเหนือกว่าสิ่งทั้งสองที่ขัดแย้งกัน ไม่ช้าไม่นานสิ่งที่สามก็จะกลายเป็นตัวยืน และภายในตัวยืนนี้ก็จะเกิดพลังตรงข้ามก่อความขัดแย้งขึ้นอีก กระบวนการเป็นไปเช่นนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
สังคมย่อมมีวิวัฒนาการไปตามสูตรนี้ ทุกขั้นตอนของวิวัฒนาการย่อมมีความขัดแย้งภายในสังคมนั้น ๆ อันเป็นตัวการให้สังคมนั้นเจริญก้าวหน้า พลังขัดแย้งต่อสู้กันเป็นสภาวะประจำธรรมชาติของสรรพสิ่ง เมื่อกาลเวลาและพฤติการณ์บรรลุถึงขีดอันควรแล้ว พลังดังกล่าวก็จักทวีความขัดแย้งต่อต้านขึ้นเป็นลำดับจนถึงขั้นแตกหัก จากนั้นก็จะเกิดระบบสังคมใหม่ขึ้น ซึ่งอยู่ในระดับสมดุลเหนือระดับเดิมทั้งสองที่ต่อสู้ล้างผลาญกัน เศษเหลือเดนบางส่วนจะสลายตัวไป บางส่วนที่ดีจะถูกกลืนเข้าไปในของใหม่ ด้วยประการฉะนี้ พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของสังคมมนุษย์ ย่อมดำเนินไปจากขั้นต่ำและหยาบ ๆ จนบรรลุถึงขั้นสูงและละเอียดซับซ้อนขึ้นไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็จะไปถึงขั้นที่สุดท้ายของกระบวนวิวัฒนาการ
ตามทัศนะของเฮเกล สูตรความขัดแย้งนี้เป็นกฎเกณฑ์ธรรมชาติ และสรรพสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติย่อมเป็นไปตามนั้น เราสามารถเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของโลกตามบันทึกประวัติศาสตร์ได้ถูกต้องถ่องแท้ ก็ด้วยการสังเกตดูความเจริญเติบโตของประชาชาติทั้งหลาย (The Nations) ในแง่ที่เป็นไปตามสูตรความขัดแย้ง อารยธรรมของมนุษย์ชาติหนึ่ง ๆ เมื่อขยายเติบโตขึ้น ย่อมเป็นเหตุให้ชาติอื่น ๆ เป็นคู่อริขึ้น ในที่สุดก็จะเกิดการขัดแย้งกันระหว่างชาติเหล่านั้น เมื่อการต่อสู้ล้มล้างกันถึงที่สุดอารยธรรมใหม่จะเกิดขึ้นมาแทน โดยเลือกเฟ้นเอาแต่คุณค่าส่วนดีที่สุดจากอารยธรรมเดิมทั้งสองนั้นมาปรุงเข้าด้วยกัน
กระบวนวิวัฒนาการเช่นนี้ จะนำพาอารยธรรมมนุษย์ดำเนินไปสู่ความสมบูรณ์ที่เรียกกันว่า “สารัตถะสูงสุดของชีวิต” (The Spirit) รัฐทุกรัฐก็จะหล่อหลอมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วก้าวไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือ “ความคิดสมบูรณ์แบบ” (The Absolute Idea)
แนวคิดเกี่ยวกับสูตรความขัดแย้ง ได้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อคาร์ล มากซ์ โดยได้เลียนแบบสูตรดังกล่าวนี้มาอรรถาธิบายกระบวนวิวัฒนาการของสังคม การเมือง และเศรษฐกิจระบบต่าง ๆ ตามบันทึกประวัติศาสตร์ในเชิงวัตถุนิยม พลังใหญ่ที่สุดที่ผลักดันให้กระบวนวิวัฒนาการนี้เป็นไป ได้แก่พลังความขัดแย้ง เกี่ยวกับวัตถุเครื่องยังชีพหรือเศรษฐปัจจัย ในกระบวนการผลิตของรัฐระบบนั้น ๆ กระบวนวิวัฒนาการนี้แต่ละช่วงแต่ละระดับจะมี 3 ตัว ประกอบ (Factors) คือ:-
1. ตัวยืน (Thesis)
2. ตัวแย้ง (Antithesis)
3. ตัวยุติ (Synthesis)
1. ตัวยืน หมายถึง ความจริง เหตุผล ความเชื่อ ค่านิยม ระบบสังคม ระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา อันเป็นแนววิถีชีวิตแบบเก่า ซึ่งถือเป็นตัวยืน(ชั่วขณะหนึ่ง) ในทีนี้เราใช้ T แทน ค่าตัวยืน
2. ตัวแย้ง หมายถึง ความจริง เหตุผล ฯลฯ ประเภทที่สอง ซึ่งถือกำเนิดออกมาจาก T แต่มีสภาพขัดแย้งกับ T กล่าวคือ เมื่อเวลาผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง ความจริง ฯลฯ แบบที่สองเกิดขึ้นมา แม้มีรากเหง้ามาจาก T แต่ได้กลายเป็นพลังขัดแย้งกับ T ในที่นี้ใช้ A แทน ค่าตัวแย้ง
3. ตัวยุติ หมายถึง ความจริงฯลฯ ที่สามเกิดจากผลกระทบขัดแย้งแล้วผสมผสานหล่อหลอม ส่วนที่เหลือเข้าด้วยกันระหว่าง T กับ A ความจริง ฯลฯ ประเภทที่สามย่อมดีกว่า ถูกต้องกว่า ความจริง ฯลฯ สองประเภทแรกที่สลายตัวไป ในที่นี้เราใช้ S แทน ค่าตัวยุติ
“คืนวันหนึ่งในเขตทะเลป่าชายเลน ลมพัดพร้าวไหวเย็นสบายพร้อมเสียงคลื่นเบาๆริมฝั่งทะเลเขตการประมงของชาวเล มองไปสุดสายตาเห็นแสงไฟริบหรี่ ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากกองถ่านที่ไหม้เถ้าของเศษไม้โกงกาง เรื่องของความรักน้อยนิดเริ่มที่นี่และจบลงที่นี่
ก่อนหน้านี้ไม่นานนักคือจุดกำเนิดของเรื่องราวเกี่ยวกับความรักและการอธิบายซึ่งกันและกันระหว่างแมลงเม่ากับหิงห้อย “ทำไมธรรมชาติแมลงเม่าจึงต้องบินเข้าในกองไฟและทำไมหิงห้อยจึงต้องกระพริบส่องแสง”
ในคืนก่อนหน้านั้นมีแมลงเม่าฝูงใหญ่บินผ่านต้นลำพูใหญ่อันเป็นที่รักที่หวงแหนยิ่งนักของกลุ่มชาวหิงห้อยกระพริบแสง ผ่านเพื่อไปสู่จุดหมาย หรือ ผ่านเพื่อไปสู่จุดจบ? กองไฟคือคำตอบหรืออย่างไร?
แมลงเม่าหนุ่มตัวหนึ่งพลั้งเผลอพลัดหลงทางจากฝูงของตนล่วงลงมาสู่ต้นลำพูใหญ่ ที่ซึ่งมีกลุ่มหิงห้อยกำลังสุขสันเหลือเกินกับการกินใบต้นลำพูใหญ่..................................
หิงห้อยผู้หวงแหนฯ ตะโกนถามแมลงเม่าหนุ่มว่า “เจ้าโง่ แกมาทำไมที่นี่ไม่ทราบ” แมลงเม่าหนุ่มตอบว่า “ข้าพลัดหลงจากฝูงที่กำลังบินไปยังกองไฟอันเกิดจากการเผาไม้โกงกาง เจ้ารู้หนทางไปสู่กองไฟรึไม่” กลุ่มหิงห้อยเหล่านั้นหัวเรอะร่าและพากันเย้ยหยันว่า “ดูก่อนพวกเรา เจ้าโง่นี่กำลังจะไปตายในไม่ช้า เพราะไม่สำเหนียกในความร้อนแรงของเปลวไฟ” แมลงเม่าตอบว่า “เปล่าเลย กองไฟอบอุ่น บางสิ่งที่ดูขมขื่นเช่นนั้น อาจอบอุ่นเข้าไปถึงหัวใจก็ได้ถ้าเข้าถึงอุดมคติแห่งความรัก” หิงห้อยเย้ยกลับว่า “เจ้านี่คงตาบอดเข้าแล้ว เวลามองเห็นแสงที่สว่างจ้าจากกองไฟ” แมลงเม่าหยุดคิดและตอบกลับไปอย่างช้าๆว่า “ข้าก็ไม่ได้ตาบอดนี่ ข้ายังมองเห็นพวกท่านกระพริบแสงอยู่เลยหลงเข้ามา เพียงแต่กองไฟทำให้ข้ามองเห็นอะไรบางอย่าง ทำให้ข้าตาสว่างไง”
“ถ้าเจ้าตาสว่างจริง เจ้าคงทำเหมือนเช่นที่พวกข้าทำ อยู่อย่างสุขสบายที่ต้นลำพูใหญ่นี้ คอยส่องแสงสวยงามให้ผู้คนได้เห็น” หิงห้อยตอบ
แมลงเม่ายิ้ม ก่อนทิ้งประโยคสุดท้ายก่อนจากไปว่า “ท่านทั้งหลายคงยังแยกไม่ออกจริงๆ ระหว่างคำว่า”รัก” และ “การครอบครอง”(ต้นลำพูและอื่นๆ) “ตัวข้านั้นมีความรักต่อกองไฟ แสงไฟ แต่ข้าไม่ได้ต้องการไปครอบครอง หวนแหน กีดกันเหมือนอย่างพวกท่านเลย ข้าใช้เพียงอย่างเดียวก็คือสัญชาติญาณ.............. มันบอกให้ข้ารู้เพียงว่า ข้ารักแสงไฟอันอบอุ่นนั้นด้วยสัญชาติญาณบอกว่าเป็นสิ่งที่ดีกับตัวข้า ความร้อนของไฟทำให้ข้าปีกหลุด ทำให้ข้าได้พบกับคนที่ข้ารักและการเกิดใหม่”
.....................................................ใครจะรู้ว่าแมลงเม่าพูดถูก ตามธรรมชาติเป็นไปอย่างนั้นจริงๆ การสลัดปีกของแมลงเม่าเกิดขึ้นจากความอบอุ่นของแรงไฟ ความจริงแมลงเม่าคือพญาปลวกที่ต้องการการเกิดใหม่(Reborn) เชื่อไหมว่าในช่วงฤดูหาคู่ ปลวกจะออกจากรังกลายสภาพเป็นแมลงเม่าเพียงเพื่อไปตามหาคู่ของมัน การเดินต่อตัวเป็นขบวนรถไฟที่เราเห็นก็คือการหยอกเย้ากระเซ้าเย้าแหย่กันและกันภายหลังจากที่ปีกหลุดไปแล้ว ในขณะที่ตัวด้วงอย่างหิงห้อยกำลังรอความตายภายในระยะเวลาไม่เกินสองสัปดาห์ตามอายุขัยของมันภายหลังจากที่เปล่งแสงเต็มที่
ตัวเราเองก็ไม่ได้ต่างอะไรจากแมลงเม่าเลยครับเพราะบางครั้งเราเองก็ใช้สัญชาติญาณเพื่อพิสูจน์อะไรบางอย่างที่อยู่เหนือเหตุและผล ด้วยข้อจำกัดของภาษาเราไม่อาจอธิบายบางอย่างออกมาได้ เราไม่อาจอธิบายเหตุผลตามสัญชาติญาณได้ด้วยการเอ่ยปาก อักษร ๔๔ ตัวคงน้อยเกินไป
เมื่อคุณเกิดรักใครสักคนที่มีความเป็นไปได้ยากด้วยเหตุผลต่างๆนานาเรามักจะอธิบายด้วยคำว่า “แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ” แต่ใครจะรู้ว่า แมลงเม่าก็มีเหตุผลของตัวเองตามสัญชาติญาณของการหาคู่และสานต่อ ตัวเราเองก็เช่นกัน ถ้าเรารักใครสักคนที่แม้เราไม่เคยเผชิญหน้าด้วยเลยสักครั้ง ถ้าเราจะบอกว่า “เรา.......ใช้สัญชาติญาณตามธรรมชาติเพื่อจะอธิบายว่าคนที่เราแอบมองอยู่นั้นเป็นคนที่อบอุ่นแสนดี บางทีคนๆนั้นอาจมีบางอย่างที่เราคงต้อง......ปีกหลุด....เพื่อการเกิดใหม่.......................แต่ไม่ใช่เพื่อการครอบครองและหวงแหนไว้คนเดียว
บางที สัญชาติญาณบอกให้รู้ว่าเรากำลังจะรักใคร..........................................................โดยที่ภาษา กริยา เหตุผลกำลังตาบอดและหูหนวก
การอธิบายบทละครด้วยทฤษฎีความขัดแย้ง
ตามที่นักปรัชญากรีกนิยมใช้กันนั้น Dialectics เป็นกระบวนการค้นหาสัจจะเชิงอภิปรายให้เหตุให้ผล วิธีการนี้ นักตรรกวิทยาสมัยปัจจุบัน เรียกกันว่า “แนวปฏิปักขนัย” (The Contradictory) เช่นบางคนอาจตั้งสมมติฐานขึ้นเป็นข้อยืนยันเกี่ยวกับ “ความเป็นธรรม” ว่ามีความหมายอันเดียวกันกับการพูดความจริงและความซื่อสัตย์ ประเด็นนี้เรียกว่า “ตัวยืน” (Thesis) ขั้นต่อไป คือพยายามหาเหตุผลตรงข้าม หรือขัดแย้งกับตัวยืนยันดังกล่าว ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรม แต่ไม่เกี่ยวกับการพูดความจริง และความซื่อสัตย์เลย เช่นการกระทำใด ๆ ที่ให้เกิดความสมใจทั้งสองฝ่าย เช่นนี้ เป็นต้น ประเด็นนี้ให้ชื่อว่า “ตัวแย้ง” (Antithesis) การประนีประนอม หรือการสังเคราะห์ฝ่ายที่เป็นตัวยืนกับฝ่ายที่เป็นตัวแย้งเข้าด้วยกันให้ชื่อว่า “ตัวสังเคราะห์หรือตัวยุติ” (Synthesis) ความก็จะเป็นว่า “ความยุติธรรม คือการพูดความจริงและความซื่อสัตย์ที่ให้เกิดความสมใจทั้งสองฝ่าย” ประเด็นที่สามนี้ดีกว่าและถูกต้องกว่าสองประเด็นแรกที่ขัดแย้งกันนั้น ด้วยอาศัยการลำดับช่วงความคิดเป็นทอด ๆ เช่นนี้ ช่วยให้เราได้เข้าถึงความหมายที่ถูกต้องของเรื่องนั้น ๆ
ต่อมาได้มีนักปรัชญารุ่นหลังหลายคน นำเอาสูตรนี้มาปรับปรุงใช้ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในเรื่องนี้ คือนักปรัชญาเยอรมันชื่อ Hegel เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติและประวัติศาสตร์สังคมมนุษย์ เฮเกลได้ชี้ใช้เห็นว่า สรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงขยายตัวมันเองอย่างไม่หยุดยั้ง การพัฒนานี้เป็นไปทีละขั้น ทุกขั้นทุกระดับมีการสืบเนื่องต่อกันเป็นช่วง ๆ การขยายตัวในขั้นตอนใหม่ย่อมมีรูปแบบ ปริมาณ คุณภาพ และคุณสมบัติดีกว่า ประเสริฐกว่าขั้นที่เกิดขึ้นก่อนเสมอ วิวัฒนาการดังกล่าวมิได้เป็นไปในทำนองสักแต่ว่าเป็นกระบวนความเจริญเติบโตคลี่คลายธรรมดา ๆ เท่านั้น หากเป็นไปโดยอาศัยมูลเหตุ คือ “ความขัดแย้ง” ซึ่งมีในตัวสิ่งนั้น ๆ อยู่แล้ว ในเรื่องสังคมและชีวิตมนุษย์ก็มีนัยเช่นเดียวกัน กล่าวคือได้มีการคลี่คลายขยายตัวกันมาเป็นขั้น ๆ ทั้งนี้เพราะมีพลังสองประเภทกระทำการขัดแย้งต่อต้านกันและกันอยู่เนืองนิตย์ (Opposed forces) ทำให้สังคมและชีวิตมนุษย์พัฒนาระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่หยุดยั้ง
ตามสูตรนี้ ไม่มีอะไรสมบูรณ์ ถูกต้อง ดี เลว ไปทุกอย่าง และจีรังยั่งยืนตลอดไป สรรพสิ่งอยู่ในสภาพไหลเลื่อนเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เพราะสรรพสิ่งมีพลังบวกกับพลังลบ หรือเรียกอีกอย่างคือ พลังสร้างสรรค์กับพลังทำลายอยู่ในตัว ดูเปรียบเทียบชีวิตเราที่เจริญเติบโตมาเรื่อย ๆ เป็นเพราะในตัวเรามีทั้งการทำลายและการสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา ความคิดความอ่านและความเชื่อถือก็เหมือนกัน ย่อมมีการปรับตัวและแปรสภาพอยู่เสมอ มิใช่มีอยู่อย่างไรก็อย่างนั้นเป็นนิรันดร
ทั้งนี้เพราะมีการขัดแย้งกันอย่างไม่หยุดยั้งระหว่างของเก่ากับของใหม่ ครั้นแล้วจากการขัดแย้งกันนั้น จึงจะบังเกิดสิ่งที่สามขึ้นมา โดยการประสมกลมกลืนสิ่งทั้งสองเบื้องต้นที่ขัดแย้งกันนั้นเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สิ่งที่สามนี้มีสถานภาพดีกว่าและเหนือกว่าสิ่งทั้งสองที่ขัดแย้งกัน ไม่ช้าไม่นานสิ่งที่สามก็จะกลายเป็นตัวยืน และภายในตัวยืนนี้ก็จะเกิดพลังตรงข้ามก่อความขัดแย้งขึ้นอีก กระบวนการเป็นไปเช่นนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
สังคมย่อมมีวิวัฒนาการไปตามสูตรนี้ ทุกขั้นตอนของวิวัฒนาการย่อมมีความขัดแย้งภายในสังคมนั้น ๆ อันเป็นตัวการให้สังคมนั้นเจริญก้าวหน้า พลังขัดแย้งต่อสู้กันเป็นสภาวะประจำธรรมชาติของสรรพสิ่ง เมื่อกาลเวลาและพฤติการณ์บรรลุถึงขีดอันควรแล้ว พลังดังกล่าวก็จักทวีความขัดแย้งต่อต้านขึ้นเป็นลำดับจนถึงขั้นแตกหัก จากนั้นก็จะเกิดระบบสังคมใหม่ขึ้น ซึ่งอยู่ในระดับสมดุลเหนือระดับเดิมทั้งสองที่ต่อสู้ล้างผลาญกัน เศษเหลือเดนบางส่วนจะสลายตัวไป บางส่วนที่ดีจะถูกกลืนเข้าไปในของใหม่ ด้วยประการฉะนี้ พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของสังคมมนุษย์ ย่อมดำเนินไปจากขั้นต่ำและหยาบ ๆ จนบรรลุถึงขั้นสูงและละเอียดซับซ้อนขึ้นไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็จะไปถึงขั้นที่สุดท้ายของกระบวนวิวัฒนาการ
ตามทัศนะของเฮเกล สูตรความขัดแย้งนี้เป็นกฎเกณฑ์ธรรมชาติ และสรรพสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติย่อมเป็นไปตามนั้น เราสามารถเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของโลกตามบันทึกประวัติศาสตร์ได้ถูกต้องถ่องแท้ ก็ด้วยการสังเกตดูความเจริญเติบโตของประชาชาติทั้งหลาย (The Nations) ในแง่ที่เป็นไปตามสูตรความขัดแย้ง อารยธรรมของมนุษย์ชาติหนึ่ง ๆ เมื่อขยายเติบโตขึ้น ย่อมเป็นเหตุให้ชาติอื่น ๆ เป็นคู่อริขึ้น ในที่สุดก็จะเกิดการขัดแย้งกันระหว่างชาติเหล่านั้น เมื่อการต่อสู้ล้มล้างกันถึงที่สุดอารยธรรมใหม่จะเกิดขึ้นมาแทน โดยเลือกเฟ้นเอาแต่คุณค่าส่วนดีที่สุดจากอารยธรรมเดิมทั้งสองนั้นมาปรุงเข้าด้วยกัน
กระบวนวิวัฒนาการเช่นนี้ จะนำพาอารยธรรมมนุษย์ดำเนินไปสู่ความสมบูรณ์ที่เรียกกันว่า “สารัตถะสูงสุดของชีวิต” (The Spirit) รัฐทุกรัฐก็จะหล่อหลอมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วก้าวไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือ “ความคิดสมบูรณ์แบบ” (The Absolute Idea)
แนวคิดเกี่ยวกับสูตรความขัดแย้ง ได้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อคาร์ล มากซ์ โดยได้เลียนแบบสูตรดังกล่าวนี้มาอรรถาธิบายกระบวนวิวัฒนาการของสังคม การเมือง และเศรษฐกิจระบบต่าง ๆ ตามบันทึกประวัติศาสตร์ในเชิงวัตถุนิยม พลังใหญ่ที่สุดที่ผลักดันให้กระบวนวิวัฒนาการนี้เป็นไป ได้แก่พลังความขัดแย้ง เกี่ยวกับวัตถุเครื่องยังชีพหรือเศรษฐปัจจัย ในกระบวนการผลิตของรัฐระบบนั้น ๆ กระบวนวิวัฒนาการนี้แต่ละช่วงแต่ละระดับจะมี 3 ตัว ประกอบ (Factors) คือ:-
1. ตัวยืน (Thesis)
2. ตัวแย้ง (Antithesis)
3. ตัวยุติ (Synthesis)
1. ตัวยืน หมายถึง ความจริง เหตุผล ความเชื่อ ค่านิยม ระบบสังคม ระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา อันเป็นแนววิถีชีวิตแบบเก่า ซึ่งถือเป็นตัวยืน(ชั่วขณะหนึ่ง) ในทีนี้เราใช้ T แทน ค่าตัวยืน
2. ตัวแย้ง หมายถึง ความจริง เหตุผล ฯลฯ ประเภทที่สอง ซึ่งถือกำเนิดออกมาจาก T แต่มีสภาพขัดแย้งกับ T กล่าวคือ เมื่อเวลาผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง ความจริง ฯลฯ แบบที่สองเกิดขึ้นมา แม้มีรากเหง้ามาจาก T แต่ได้กลายเป็นพลังขัดแย้งกับ T ในที่นี้ใช้ A แทน ค่าตัวแย้ง
3. ตัวยุติ หมายถึง ความจริงฯลฯ ที่สามเกิดจากผลกระทบขัดแย้งแล้วผสมผสานหล่อหลอม ส่วนที่เหลือเข้าด้วยกันระหว่าง T กับ A ความจริง ฯลฯ ประเภทที่สามย่อมดีกว่า ถูกต้องกว่า ความจริง ฯลฯ สองประเภทแรกที่สลายตัวไป ในที่นี้เราใช้ S แทน ค่าตัวยุติ
Subscribe to:
Posts (Atom)